โครงงานสบู่จากผลไม้
จัดทำโดย
ด.ช.สิรวิชญ์ เกิดสินธิ์ชัย เลขที่ 20
ด.ญ.บุษยรัตน์ วงศ์จำปา เลขที่ 26
ด.ญ.รัชดาวัลย์ พัชรเวโรจน์ เลขที่ 30
ม.2/2
เสนอ
อาจารย์ รัตนา นวีภาพ
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา is
ภาคเรียนที่2/2558
โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยสุพรรณบุรี
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง
สบู่จากผลไม้
ผู้ศึกษา
ด.ช.สิรวิชญ์ เกิดสินธิ์ชัย
ด.ญ.บุษยรัตน์ วงศ์จำปา
ด.ญ.รัชดาวัลย์ พัชรเวโรจน์
ครูที่ปรึกษา
อาจารย์รัตนา นวีภาพ
โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย
สุพรรณบุรี
การศึกษาเรื่องสบู่จากผลไม้เกิดจากการที่ผู้จัดทำมีความสนใจที่จะทำสบู่ที่ทำจากผลไม้
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อหาผลไม้ที่มีสรรพคุณบำรุงผิว
2.เพื่อทำสบู่จากน้ำผลไม้ โดยคัดเลือกผลไม้ 3
ชนิด คือแอปเปิ้ล กล้วย และแตงโม
ผลการศึกษา
จากการทดลองเรื่อง สบู่จากผลไม้ ผู้ศึกษาได้ศึกษาในเรื่องของรูปลักษณ์ 1.รูปลักษณ์ของสบู่ที่เป็นที่นิยมคือสบู่จากกล้วยและแตงโม
ส่วนสบู่จากแอปเปิ้ลเป็นที่นิยม น้อยที่สุด
2.สบู่ที่สามารถขจัดคราบได้ดีที่สุดคือสบู่จากแอปเปิ้ล
รองลงมาคือสบู่จากแตงโม และสุดท้ายคือ สบู่จากกล้วย 3.สบู่ที่บำรุงผิวได้ดีที่สุดคือสบู่จากแอปเปิ้ลรองลงมา
คือ สบู่จากกล้วย และสุดท้ายคือ สบู่จากแตงโม
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานเรื่องสบู่จากผลไม้ได้รับการช่วยเหลือจาก
อาจารย์รัตนา นวีภาพ
และผู้ปกครองของคณะผู้จัดทำทุกท่านที่ได้ให้คำแนะนำและสนับสนุนในการจัดทำโครงงานคณะผู้จัดขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
ณ โอกาสนี้
หากมีข้อผิดพลาดประการใดของอภัยไว้ณ
ที่นี้ด้วย
คณะผู้จัดทำ
บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
ในปัจจุบัน
เชื้อโรคที่แพร่กระจายอยู่รอบตัวเราซึ่งเป็นปัญหาที่ยากต่อการควบคุมและป้องกัน
อาจทำให้เกิดโรคต่างๆเป็นจำนวนมาก และถึงขั้นเสียชีวิต เช่นโรคระบบทางเดินอาหาร โรคผิวหนัง ต่างๆ เป็นต้น
สบู่ตามตลาดหรือตามร้านค้าทั่วไปอาจมีสารเคมี
สารเคมีบ้างชนิดอาจมีสารที่อันตรายมาก อาจทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น อาการคัน
ผิวหนังอาจมีอาการแพ้จนเกิดเป็นโรคที่เกี่ยวกับผิวหนัง
จึงเป็นอันตรายอย่างมากในการนำมาใช้
คณะผู้จัดทำ
จึงคิดค้น สบู่ที่ทำมาผลไม้ต่างๆ ทีมีสรรพคุณ บำรุงผิว เช่น แอปเปิ้ล แตงโม
และกล้วย เพื่อแก้ปัญหาสารเคมีที่มีในสบู่และเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำอีกด้วย
วัตถุประสงค์
1.เพื่อหาผลไม้ที่มีสรรพคุณบำรุงผิว
2.เพื่อทำสบ่จากน้ำผลไม้
ขอบเขตการศึกษา
โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย
สุพรรณบุรี
ประโยชน์ที่ได้รับ
-ได้รับความรู้เกี่ยวกับผลไม้มากขึ้น
-ได้รู้วิธีการทำสบู่
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาในครั้งนี้
ผู้ศึกษาได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งเนื้อหาของเอกสารงานวิจัยออกเป็นหัวข้อต่างๆดั้งนี้
1.สบู่
1.1ความหมายของสบู่
1.2วิธีการทำสบู่
1.3 สารเคมีที่ใช้ทำสบู่
1.4สมบัติของสบู่ที่ได้จาดกรดไขมันต่างชนิด
2.ผลไม้
2.1ความหมายของผลไม้
2.2ประโยชน์ของผลไม้
2.3ประเภทของผลไม้
2.4ผลไม้ที่นำมาทำสบู่
1.สบู่
1.1ความหมายของสบู่
สบู่ เป็นสิ่งที่ใช้ในการทำความสะอาดร่างกาย เช่น การอาบน้ำ การล้างมือ
สบู่จะช่วยละลายไขมัน ทำให้การชำระล้างสะอาดมากขึ้น
สบู่ก้อน คือส่วนผสมระหว่างกรด (ไขมัน) กับเบส (ด่าง)
ในอัตราส่วนที่ทำให้สามารถทำความสะอาดได้ดี และไม่เป็นอันตรายต่อผิว คือมีค่า pH อยู่ระหว่าง 8-10 (ในเอกสารจดแจ้งของ อย.ให้ผู้ผลิตสบู่ก้อนระบุว่ามีค่า ph ไม่เกิน 11) กรดหรือกรดไขมัน เช่นน้ำมันพืช
ไขมันสัตว์ เบส เช่นโซดาไฟ โดยทั่วไปอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมคือเมื่อผสมกันแล้วควรจะเหลือกรดไขมันอยู่ประมาณ
5% หากไม่มีเครื่องมือในการวัดค่าpH ให้เก็บสบู่เอาไว้อย่างน้อย
15-30 วัน เพื่อให้ค่า pH ลดลง อยู่ในอัตราที่เหมาะสม
กรด (ไขมัน) และเบส (ด่าง) ที่นำมาทำสบู่ ไขมันแต่ละชนิดประกอบด้วยกรดไขมันมากกว่า
1 ชนิด ตามธรรมชาติกรดไขมันเหล่านี้จะไม่อยู่อิสระ
แต่รวมตัวกับสารกลีเซอรอลในไขมันอยู่ในรูปกลีเซอไรด์ เมื่อด่างทำปฏิกิริยากับกรดไขมัน กรดไขมันจะหลุดออกจากกลีเซอไรด์รวมตัวเป็นสบู่
สารที่เกาะอยู่กับกรดไขมันก็จะหลุดออกมาเป็นกลีเซอรีน ปฏิกิริยาของ
กรดไขมันแต่ละชนิดเมื่อรวมตัวกับด่างแล้ว จะให้สบู่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น กรดลอริก (lauric acid) มีมากในน้ำมันมะพร้าว เป็นกรดไขมันที่ทำปฏิกิริยากับด่างแล้วให้สารที่มีฟองมาก เป็นต้น
โดยคำว่า "สบู่" ในภาษาไทย
เพี้ยนมาจากคำว่า "soap" ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมาจากคำว่า "sapo" ซึ่งหมายถึง
สบู่ ในภาษาละติน
1.2สารเคมีที่ใช้ทำสบู่
1. ไขมัน/น้ำมัน เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตสารตั้งต้นสบู่ ไขมันหรือน้ำมันที่ใช้อาจได้จากพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันปาล์ม เป็นต้น ส่วนไขมันที่ได้จากสัตว์ เช่น ไขมันโค กระบือ แกะ แพะ เป็นต้น คุณภาพของน้ำมันที่ได้จากพืช และสัตว์จะมีผลต่อคุณภาพของสบู่ เกล็ดสบู่ (soap)ที่ได้จากน้ำมันพืชจะให้ลักษณะขาวเนียน และกลีเซอรีนจะค่อนข้างใสกว่าน้ำมันจากสัตว์ นอกจานั้น เกล็ดสบู่ (soap) ที่ได้จากน้ำมันจากพืชจะมีกลิ่นหืนน้อยกว่าน้ำมันจากสัตว์ อีกทั้งน้ำมันจากพืชยังเป็นวัตถุดิบที่หาง่าย และราคาถูกกว่า
1. ไขมัน/น้ำมัน เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตสารตั้งต้นสบู่ ไขมันหรือน้ำมันที่ใช้อาจได้จากพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันปาล์ม เป็นต้น ส่วนไขมันที่ได้จากสัตว์ เช่น ไขมันโค กระบือ แกะ แพะ เป็นต้น คุณภาพของน้ำมันที่ได้จากพืช และสัตว์จะมีผลต่อคุณภาพของสบู่ เกล็ดสบู่ (soap)ที่ได้จากน้ำมันพืชจะให้ลักษณะขาวเนียน และกลีเซอรีนจะค่อนข้างใสกว่าน้ำมันจากสัตว์ นอกจานั้น เกล็ดสบู่ (soap) ที่ได้จากน้ำมันจากพืชจะมีกลิ่นหืนน้อยกว่าน้ำมันจากสัตว์ อีกทั้งน้ำมันจากพืชยังเป็นวัตถุดิบที่หาง่าย และราคาถูกกว่า
2. ด่างเข้มข้น
เป็นสารเคมีสำคัญที่ใช้ทำปฏิกิริยากับไขมันธรรมชาติ ด่างเข้มข้นที่นิยมใช้ คือ
โซเดียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งจะได้เนื้อสบู่สีขาวทึบ เนื้อก้อนแข็ง ให้ฟองมาก
นิยมนำมาทำสบู่ก้อนทึบ และอีกชนิดหนึ่ง คือ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์
ซึ่งจะได้สบู่ในลักษณะเดียวกัน แต่เนื้อสบู่มีความอ่อนตัวได้ดีกว่า
นิยมนำมาทำสบู่เหลว
3. สารเติมแต่ง
เป็นสารเคมีสำหรับปรับปรุงคุณสมบัติของสบู่ เช่น สี น้ำหอม สมุนไพร
สารป้องกันความชื้น สารลดความเป็นด่าง สารลดแรงตึงผิว สารทำให้ฟองคงตัว
สารเพิ่มความแข็ง สารป้องกันการออกซิเดชัน สารบำรุงผิว สารฆ่าเชื้อ เป็นต้น
เป็นสารเติมแต่งที่นิยมผสมในสบู่เพื่อให้มีคุณสมบัติเหมาะแก่การใช้ประโยชน์ในแต่ละอย่าง
1.3 วิธีการทำสบู่
การทำสบู่ในระดับอุตสาหกรรม และระดับครัวเรือน ในกรรมวิธีหลักๆจะไม่แตกต่างกันมาก แต่ในทางอุตสาหกรรมจะมีกระบวนการที่ละเอียด และซับซ้อนกว่า โดยในภาคอุตสาหกรรมอาจเตรียมสบู่สารตั้งต้นเองหรือสั่งซื้อจากอีกแหล่งที่ทำหน้าที่รับผลิต ทั้งที่เป็นเกล็ดสบู่ (soap) เพื่อผลิตสบู่ก้อนขุ่น หรือสบู่เหลว และกลีเซอรีน เพื่อผลิตสบู่ก้อนใส
1. การผลิตสบู่ในภาคอุตสาหกรรม
สำหรับภาคครัวเรือนสามารถผลิตได้ทั้งสบู่ก้อนขุ่น สบู่ก้อนใส และสบู่เหลว โดยนิยมสั่งซื้อเกล็ดสบู่ (soap) และกลีเซอรีน จากแหล่งจำหน่ายโดยไม่ต้องเตรียมเอง
การทำสบู่ในระดับอุตสาหกรรม และระดับครัวเรือน ในกรรมวิธีหลักๆจะไม่แตกต่างกันมาก แต่ในทางอุตสาหกรรมจะมีกระบวนการที่ละเอียด และซับซ้อนกว่า โดยในภาคอุตสาหกรรมอาจเตรียมสบู่สารตั้งต้นเองหรือสั่งซื้อจากอีกแหล่งที่ทำหน้าที่รับผลิต ทั้งที่เป็นเกล็ดสบู่ (soap) เพื่อผลิตสบู่ก้อนขุ่น หรือสบู่เหลว และกลีเซอรีน เพื่อผลิตสบู่ก้อนใส
1. การผลิตสบู่ในภาคอุตสาหกรรม
สำหรับภาคครัวเรือนสามารถผลิตได้ทั้งสบู่ก้อนขุ่น สบู่ก้อนใส และสบู่เหลว โดยนิยมสั่งซื้อเกล็ดสบู่ (soap) และกลีเซอรีน จากแหล่งจำหน่ายโดยไม่ต้องเตรียมเอง
ขั้นตอนการผลิตสบู่ภาคอุตสาหกรรม
– การฟอกสีน้ำมันวัตถุดิบเพื่อให้น้ำมันมีสีใส และไม่มีกลิ่นหืน
– การต้มสบู่ เพื่อให้ได้เกล็ดสบู่ และกลีเซอรีน ด้วยการเติมด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์หรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์
– ขั้นตอนการแยก โดยการแยกเกล็ดสบู่ และกลีเซอรีนออกจากกัน
– ขั้นตอนการฟิต เป็นการนำเอาเกล็ดสบู่เข้าหม้อฟิตเพื่อกำจัดเกลือที่ตกค้างในเกล็ดสบู่
– การระเหยน้ำ ด้วยการเป่าแห้งเกล็ดสบู่เหลวเพื่อกำจัดน้ำที่ผสมอยู่ และเพื่อให้เกล็ดสบู่แห้งจับตัวเป็นก้อน เรียกว่า สบู่ดิบ
– นำสบู่ดิบมาผสมกับส่วนผสมต่างๆ ภายใต้ความร้อนจนสารทั้งหมดละลายรวมตัวกัน และผ่านเข้าเครื่องอัดความหนาแน่นเพื่อให้สบู่เป็นก้อนที่คงตัว และสม่ำเสมอ
– เมื่อสบู่ที่ออกจากเครื่องอัดความหนาแน่นแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนการรีดให้เป็นแท่งยาว และตัดด้วยเครื่อง
– ก้อนสบู่ที่ตัดเป็นก้อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการปั้มบนแม่พิมพ์ และตีตรา เข้าสู่ขั้นตอนการบรรจุในขั้นสุดท้าย
– การฟอกสีน้ำมันวัตถุดิบเพื่อให้น้ำมันมีสีใส และไม่มีกลิ่นหืน
– การต้มสบู่ เพื่อให้ได้เกล็ดสบู่ และกลีเซอรีน ด้วยการเติมด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์หรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์
– ขั้นตอนการแยก โดยการแยกเกล็ดสบู่ และกลีเซอรีนออกจากกัน
– ขั้นตอนการฟิต เป็นการนำเอาเกล็ดสบู่เข้าหม้อฟิตเพื่อกำจัดเกลือที่ตกค้างในเกล็ดสบู่
– การระเหยน้ำ ด้วยการเป่าแห้งเกล็ดสบู่เหลวเพื่อกำจัดน้ำที่ผสมอยู่ และเพื่อให้เกล็ดสบู่แห้งจับตัวเป็นก้อน เรียกว่า สบู่ดิบ
– นำสบู่ดิบมาผสมกับส่วนผสมต่างๆ ภายใต้ความร้อนจนสารทั้งหมดละลายรวมตัวกัน และผ่านเข้าเครื่องอัดความหนาแน่นเพื่อให้สบู่เป็นก้อนที่คงตัว และสม่ำเสมอ
– เมื่อสบู่ที่ออกจากเครื่องอัดความหนาแน่นแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนการรีดให้เป็นแท่งยาว และตัดด้วยเครื่อง
– ก้อนสบู่ที่ตัดเป็นก้อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการปั้มบนแม่พิมพ์ และตีตรา เข้าสู่ขั้นตอนการบรรจุในขั้นสุดท้าย
2. การผลิตสบู่สมุนไพรภาคครัวเรือน
2.1 สารตั้งต้น
การทำสบู่ในภาคครัวเรือนนิยมผลิตสบู่ก้อนขุ่น สบู่ก้อนใส และสบู่เหลว ซึ่งจะใช้สารตั้งต้นที่แตกต่างกัน โดยสามารถสั่งชื้อได้ตามอินเตอร์เน็ตหรือร้านขายส่งสารเคมีทั่วไป
– สบู่ก้อนขุ่น ใช้สารตั้งต้น คือ เกล็ดสบู่ (soap) ที่เกิดจากการใช้ด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์
– สบู่ก้อนใส ใช้สารตั้งต้น คือ กลีเซอรีนก้อน
– สบู่เหลว ใช้สารตั้งต้น คือ เกล็ดสบู่ (soap) ที่เกิดจากการใช้ด่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์
2.1 สารตั้งต้น
การทำสบู่ในภาคครัวเรือนนิยมผลิตสบู่ก้อนขุ่น สบู่ก้อนใส และสบู่เหลว ซึ่งจะใช้สารตั้งต้นที่แตกต่างกัน โดยสามารถสั่งชื้อได้ตามอินเตอร์เน็ตหรือร้านขายส่งสารเคมีทั่วไป
– สบู่ก้อนขุ่น ใช้สารตั้งต้น คือ เกล็ดสบู่ (soap) ที่เกิดจากการใช้ด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์
– สบู่ก้อนใส ใช้สารตั้งต้น คือ กลีเซอรีนก้อน
– สบู่เหลว ใช้สารตั้งต้น คือ เกล็ดสบู่ (soap) ที่เกิดจากการใช้ด่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์
วิธีการเตรียมสารตั้งต้น
วัสดุ และสารเคมี:
– น้ำ 1 ลิตร
– โซเดียมไฮดรอกไซด์ 100 กรัม
– น้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันปาล์ม 3 ลิตร
วัสดุ และสารเคมี:
– น้ำ 1 ลิตร
– โซเดียมไฮดรอกไซด์ 100 กรัม
– น้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันปาล์ม 3 ลิตร
วิธีการ:
– ละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ในหม้อที่ต้มน้ำ คนให้ละลายจนหมด และตั้งทิ้งไว้ให้อุ่น
– เทน้ำมันพืชลงในหม้อ กวนให้เข้ากัน และเทใส่แม่พิมพ์หรือภาชนะอื่น
– รินน้ำ และสารละลายใสที่เป็นกลีเซอรีนส่วนบนออก
– สบู่จะนอนก้นเป็นตะกอนขาวขุ่น ซึ่งต้องตั้งทิ้งไว้ให้เย็น จนเกล็ดสบู่ (soap) จับตัวเป็นก้อน สำหรับการทำสบู่ก้อนขุ่น
– ละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ในหม้อที่ต้มน้ำ คนให้ละลายจนหมด และตั้งทิ้งไว้ให้อุ่น
– เทน้ำมันพืชลงในหม้อ กวนให้เข้ากัน และเทใส่แม่พิมพ์หรือภาชนะอื่น
– รินน้ำ และสารละลายใสที่เป็นกลีเซอรีนส่วนบนออก
– สบู่จะนอนก้นเป็นตะกอนขาวขุ่น ซึ่งต้องตั้งทิ้งไว้ให้เย็น จนเกล็ดสบู่ (soap) จับตัวเป็นก้อน สำหรับการทำสบู่ก้อนขุ่น
2.2 สมุนไพร
สมุนไพรที่ใช้เป็นส่วนผสมทำสบู่มีมากมายหลายชนิด ซึ่งอาจประยุกต์ใช้สมุนไพรชนิดอื่นนอกเหนือจากที่ยกตัวอย่าง
– มะขาม มะนาว มะกรูดให้วิตามินซี และกรด ช่วยขัดเซลล์ผิว และป้องกันเชื้อจุลินทรีย์
– เปลือกมังคุดให้วิตามินดี ลดรอยด่างดำ
– มะละกอ ให้วิตามินเอ ช่วยบำรุงผิวให้ขาว
– ว่านหางจระเข้ ให้วิตามินอีช่วยลดรอยจุดด่างดำ
– ขมิ้น ดาวเรือง ช่วยบำรุงผิว
สมุนไพรที่ใช้เป็นส่วนผสมทำสบู่มีมากมายหลายชนิด ซึ่งอาจประยุกต์ใช้สมุนไพรชนิดอื่นนอกเหนือจากที่ยกตัวอย่าง
– มะขาม มะนาว มะกรูดให้วิตามินซี และกรด ช่วยขัดเซลล์ผิว และป้องกันเชื้อจุลินทรีย์
– เปลือกมังคุดให้วิตามินดี ลดรอยด่างดำ
– มะละกอ ให้วิตามินเอ ช่วยบำรุงผิวให้ขาว
– ว่านหางจระเข้ ให้วิตามินอีช่วยลดรอยจุดด่างดำ
– ขมิ้น ดาวเรือง ช่วยบำรุงผิว
การเตรียมสมุนไพร สามารถทำได้โดย
– การทำเป็นผง ด้วยการตากแห้ง และนำมาบดให้เป็นผงละเอียด และนำตากให้แห้งอีกครั้ง
– การสกัดเป็นสารละลาย ด้วยการบดสมุนไพรให้ละเอียด และนำมาต้มสกัดหรือนำมาแช่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ผสมกับน้ำ
– การทำเป็นผง ด้วยการตากแห้ง และนำมาบดให้เป็นผงละเอียด และนำตากให้แห้งอีกครั้ง
– การสกัดเป็นสารละลาย ด้วยการบดสมุนไพรให้ละเอียด และนำมาต้มสกัดหรือนำมาแช่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ผสมกับน้ำ
สบู่สมุนไพรควรเติมผงสมุนไพรประมาณร้อยละ
1-5 ของน้ำหนักสบู่ และสมุนไพรที่ได้จากการต้มสกัด
ควรเติมประมาณร้อยละ 5-10 ของน้ำหนักสบู่
2.3 สารเติมแต่ง
– น้ำหอม เป็นสารเติมแต่งที่นิยมเติมในการทำสบู่ สามารถใช้ได้ทั้งน้ำหอมทั่วไปหรือน้ำหอมสำหรับสบู่
– ผงสี สารลดความกระด้าง สารรักษาความชื้น สารป้องกันการหืน ซึ่งสารเหล่านี้อาจไม่ใช้ก็ได้หากไม่สะดวกที่จะหาซื้อ
– น้ำหอม เป็นสารเติมแต่งที่นิยมเติมในการทำสบู่ สามารถใช้ได้ทั้งน้ำหอมทั่วไปหรือน้ำหอมสำหรับสบู่
– ผงสี สารลดความกระด้าง สารรักษาความชื้น สารป้องกันการหืน ซึ่งสารเหล่านี้อาจไม่ใช้ก็ได้หากไม่สะดวกที่จะหาซื้อ
2.4 ขั้นตอนการทำสบู่
– นำเกล็ดเกล็ดสบู่ใส่หม้อภาชนะ ตั้งไฟอ่อนๆให้ละลายจนหมด
– เติมสมุนไพร หากเป็นผงประมาณไม่เกิน 50 กรัม หากเป็นน้ำสกัดไม่เกิน 100 ซีซี
– เติมสารเติมแต่ง เช่น น้ำหอม ผงสี และอื่นตามที่หาซื้อได้ พร้อมคนให้ละลายเข้ากัน
– เทสารละลายสบู่ในแม่พิมพ์ และรอจนแห้งตัวก็จะได้สบู่สำหรับใช้งาน
– นำเกล็ดเกล็ดสบู่ใส่หม้อภาชนะ ตั้งไฟอ่อนๆให้ละลายจนหมด
– เติมสมุนไพร หากเป็นผงประมาณไม่เกิน 50 กรัม หากเป็นน้ำสกัดไม่เกิน 100 ซีซี
– เติมสารเติมแต่ง เช่น น้ำหอม ผงสี และอื่นตามที่หาซื้อได้ พร้อมคนให้ละลายเข้ากัน
– เทสารละลายสบู่ในแม่พิมพ์ และรอจนแห้งตัวก็จะได้สบู่สำหรับใช้งาน
1.4 สมบัติของสบู่ที่ได้จากกรดไขมันต่างชนิด
1.
น้ำมันมะพร้าว สบู่ที่ผลิตได้มีเนื้อแข็ง
กรอบ แตกง่าย สีขาวข้น มีฟองมากเป็นครีม ให้ฟองที่คงทนพอควร เมื่อใช้แล้วทำให้ผิวแห้ง
2.
น้ำมันปาล์ม ให้สบู่ที่แข็งเล็กน้อย
มีฟองน้อย ฟองคงทนอยู่นาน มีคุณสมบัติในการชะล้างได้ดี แต่ทำให้ผิวแห้ง
3.
น้ำมันรำข้าว ให้วิตามินอีมาก
ทำให้สบู่มีความชุ่มชื้น บำรุงผิว ช่วยลดความแห้งของผิว
4.
น้ำมันถั่วเหลือง เป็นน้ำมันที่เข้าได้ดีกับน้ำมันอื่น
ให้ความชุ่มชื้น รักษาผิว แต่เก็บไว้ได้ไม่นาน มีกลิ่นหืนง่าย
5.
น้ำมันงา เป็นน้ำมันที่ให้วิตามินอี
และให้ความชุ่มชื้น รักษาผิว แต่มีกลิ่นเฉพาะตัว
6.
น้ำมันมะกอก ทำให้ได้สบู่ที่แข็งพอสมควร
ใช้ได้นาน มีฟองเป็นครีมนุ่มนวลมาก ให้ความชุ่มชื้น ไม่ทำให้ผิวแห้ง
7.
น้ำมันละหุ่ง ช่วยทำให้สบู่มีฟองขนาดเล็กจำนวนมาก
ทำให้สบู่เป็นเนื้อเดียวกันดี สบู่ไม่แตก ทำให้สบู่มีความนุ่มเนียน
และช่วยให้ผิวนุ่ม
8.
น้ำมันเมล็ดทานตะวัน ทำให้สบู่นุ่มขึ้น
แต่ฟองน้อย
9.
ไขมันวัว จะได้สบู่ที่มีเนื้อแข็งสีขาวอายุการใช้งานนานมีฟองน้อย
ทนนาน แต่นุ่มนวล
10.
ไขมันหมู จะได้สบู่ที่มีเนื้อแข็ง
อายุการใช้งานนาน ฟองน้อย แต่ทนนาน
11.
ขี้ผึ้ง ได้สบู่เนื้อแข็ง
อายุการใช้งานนาน ฟองน้อย แต่ทนนาน
12.
ไขมันแพะ ได้สบู่เนื้อนุ่ม ได้ความชุ่มชื้นแก่ผิว
ผิวนุ่มเนียน
2. ผลไม้
2.1ความหมายของผลไม้
ผลไม้ หมายถึง ผลที่เกิดจากการขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศของพืชบางชนิด ซึ่งมนุษย์สามารถรับประทานได้
และส่วนมากจะไม่ทำเป็นอาหารคาว ตัวอย่างผลไม้ เช่น ส้ม แอปเปิ้ล กล้วย มะม่วง ทุเรียน รวมถึง มะเขือเทศ ที่สามารถจัดได้ว่าเป็นทั้งผักและผลไม้
ผลไม้
= ผล + ไม้
คำนี้จึงสามารถอธิบายได้ว่า
สิ่งที่เป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิตจำพวกพืช โดยลักษณะรวมๆ
จะมีรูปทรงคล้ายทรงกลมหรือทรงรี ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันบ้างตามสายพันธุ์
โดยปกติผลไม้จะต้องมีเปลือกหรือมีสิ่งที่ห่อหุ้มเนื้อที่อยู่ข้างใน
ซึ่งมักจะถูกนำไปเป็นอาหารโดยมนุษย์หรือสัตว์
ในส่วนของการเจริญเติบโต
สามารถขยายพันธุ์ได้โดยดอก เมล็ด หรือ อื่นๆ
ซึ่งผลไม้ที่ออกมานี้ตอนแรกจะมีขนาดเล็กและมักจะไม่ค่อยถูกนำมารับประทานโดยมนุษย์
แต่เมื่อเติบโตจนสุกงอม จะมีลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิม คือ
เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอม และรสหวาน เป็นต้น
จนสามารถนำมารับประทานหรือประกอบอาหาร ส่วนมากมักจะเป็นอาหารหวาน
ถ้าผลไม้สุกงอมเต็มที่จะมีลักษณะที่ก่อให้เกิดประโยชน์ได้น้อยลง
เช่น เน่าเสีย บูด ขึ้นรา เป็นต้น และจะหลุดร่วงจากต้นลงสู่พื้นดินหรือพื้นน้ำ
กลายเป็นอาหารให้แก่ห่วงโซ่อาหารลำดับถัดไป เช่น แบคทีเรีย จุรินทรีย์
จนกลายเป็นอินทรียธาตุหรืออนินทรียธาตุ หมุนเวียนเป็นวัฏจักรต่อไป
การที่จะบอกได้ว่าเป็นผลไม้อะไรนั้น
จำเป็นต้องมีสิ่งบ่งชี้อื่นๆ ประกอบหลายอย่าง เช่น เปลือกมีลักษณะเป็นหนามและแข็ง
เนื้อข้างในสีเหลือง หมายถึง ทุเรียน เป็นต้น
ผลไม้ในความหมายทั่วไป
หมายถึง ผลไม้ที่สามารถรับประทาน โดยไม่ต้องนำไปปรุงในครัวก่อนแต่มีรสชาติที่ดี ซึ่งอาจจะต้องปอกเปลือกก่อนรับประทาน ดังนั้นอาหารหลายชนิดจึงเป็นผลไม้ในเชิงพฤกษศาสตร์แต่กลับถูกจัดว่าเป็นผักในเชิงการทำครัว. อันได้แก่ผลของพืชจำพวกฟัก (เช่น ฟักทอง แฟง และ แตงกวา), มะเขือเทศ, ถั่วลันเตา, ถั่วฝักยาว, ข้าวโพด, พริกหยวก, เครื่องเทศ.[1]
โดยผลไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
คือ ผลของมะพร้าวทะเล (Lodoicea maldivica) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดหนักได้ถึง 20 กิโลกรัม[2]
2.2ประโยชน์ของผลไม้
·
มะละกอ ลำต้นจะมี ยาง ช่วยกัดแผล
รักษาตาปลา หูด ได้ ส่วนผลที่สุกก็มีวิตามินเอสูง ซึ่งจะบำรุงสายตาได้เป็นอย่างดี
ยังมีวิตามินซี และแคลเซี่ยมป้องกันโรคกระดูกผุอีกด้วย
·
มังคุด ที่เปลือกของมังคุดจะมีสาร tannin
ซึ่งจะช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย
·
สับปะรด สามารถรักษาที่เป็นหนองได้
วิธีการรักษาคือนำเอาผลที่สดๆ มาคั้นเอาแต่น้ำแล้วนำมา ชโลมแผลที่เป็นหนอง
เอนไซม์จะช่วยย่อยกัดเนื้อเยื่อ และหนองให้หลุดออกทำให้แผลที่เป็นหนองหายได้
ถ้าหากนำน้ำสับปะรด ที่คั้นแล้วประมาณหนึ่งแก้ว
ไปผสมกับน้ำสุกอีกหนึ่งแก้วเติมเกลืออีกเล็กน้อย
แล้วดื่มก็จะสามารถใช้แก้ท้องผูกได้ด้วย
·
แอปเปิ้ล มีสารสำคัญ คือ บีตา-แคโรทีน
วิตามินซี และเส้นใยไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำ ที่ชื่อ "เพคติน"
.."เพคติน" นี้มีคุณสมบัติช่วยลดความอยากอาหาร ลดน้ำหนัก
และลดโคเลสเตอรอล เพราะแอปเปิ้ลมีแป้งและน้ำตาลในรูปของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวถึง 75 %
ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมน้ำตาลพิเศษชนิดนี้ได้รวดเร็ว
และนำไปใช้ประโยชน์ได้ในเวลาไม่เกิน 10 นาที
ดังนั้นความอยากอาหารจึงลดลง ทำให้คุณไม่รู้สึกหงุดหงิด หรือ อ่อนเพลีย แอปเปิ้ล 2-3
ผลต่อวัน ช่วยลดปริมาณโคเลสเตอรอลในกระแสเลือดได้
เพราะแอปเปิ้ลมีเพคติน ซึ่งเป็นไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ ผลจากการวิจัยชี้ว่า
เมื่อกรดในทางเดินอาหารย่อยสลายไขมัน และแยกโคเลส-เตอรอลออกมาเสร็จสิ้นแล้ว
เพคตินจากแอป-เปิ้ลจะไปคอยดักจับโคเลสเตอรอลเหล่านั้น
และพาไปทิ้งก่อนที่จะถูกดูดกลับเข้าร่างกาย
·
บีทรูท ลดความดันโลหิต ฟอกไต
ช่วยขับปัสสาวะ
·
เสาวรส ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค
และป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยต้านอนุมูลอิสระ มีวิตามินสูงช่วยบำรุงสายตา
ทำให้ร่างกาย แข็งแรง บำรุงกระดูก เพราะมีแคลเซียมสูง
·
แครอท อุดมไปด้วยวิตามินเอ
และเกลือแร่ วิตามินเอเอาไว้ใช้ ช่วยบำรุง สายตา บำรุงผิวและเนื้อเยื่อ
ช่วยยับยั้งความเสื่อมของ อวัยวะสำคัญของร่างกาย มีความเชื่อว่า
แครอทช่วยรักษาโรคมะเร็ง ช่วยลดความเสี่ยงจากโรค เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง
อัมพฤษ์ อัมพาต ความดันโลหิตสูง ต้อกระจก และยังช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน
เร่งการสร้างเซลล์ในแผลผ่าติด นอกจากนี้ ยังอุดมด้วยวิตามินบี วิตามินซี
และแคลเซียมที่ดูด ซึมง่าย มีแพคติน ซึ่งเป็นไฟเบอร์ ชนิดที่ละลายน้ำได้
ช่วยลดโคเลสเตอรอล วิตามินและเกลือแร่ที่มีอยู่ มีบทบาทสำคัญ
ในการสร้างภูมิคุ้มกันโรค
·
สตรอเบอรี่ บลูเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ มีวิตามินซี แมกนีเซียม
โปเทสเซียมสูง ช่วยเพิ่มช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
ช่วยต้านอนุมูลอสิระ ป้องกันโรคต่างๆ ช่วยเพิ่มความกระปรี้กระเปร่า
·
มะเขือเทศ อุดมด้วยวิตามินซี และอี
มีสารไลโคทีน ช่วยป้องกันมะเร็งบางชนิด
·
แตงกวาญี่ปุ่น มีวิตามินซีและเคสูง
·
มะตูม ผลมะตูมอ่อน บำรุงธาตุ
เจริญอาหาร และช่วยขับและผายลม ผลมะตูมสุก รสหวาด แก้ลม แก้เสมหะ แก้มูกเลือด
บำรุงไฟธาตุ แก้กระหายน้ำ ขับลม
·
ตะลิงปลิง รสเปรี้ยวจัด ช่วยเจริญอาหาร
เลือดออกตามไรฟัน มีวิตามินซีสูง
·
ฝรั่ง ช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน
ชะลอการลุกลามของมะเร็ง ช่วยทำให้แผลหายเร็ว ช่วยกระตุ้น การทำงานของเม็ดเลือดขาว
และสร้างภูมิคุ้มกัน จึงสามารถป้องกันการเป็นหวัดได้
·
มะขาม มีวิตามินเอและซี นอกจากนั้น
ยังมีวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และเกลือแร่ชนิดต่างๆ
ช่วยแก้อาการท้องผูก เป็นยาระบายแก้ไอขับเสมหะ
2.3ประเภทของผลไม้
ผลไม้ (fruit) สามารถจัดแบ่งได้หลายประเภท
โดยใช้เกณฑ์การแบ่งที่แตกต่างกัน
ประเภทของผลไม้
มีการแบ่งโดยใช้เกณฑ์ดังนี้
1 แบ่งตามอัตราการหายใจ
1.1 Climacteric fruit
1.2 Non climacteric fruit
Climacteric
fruit
|
Non
climacteric fruit
|
แอปเปิล (apple)
สาลี่ (pear)
พลับ (persimon)
ท้อ (peach)
ทุเรียน (durian)
อะโวกาโด (avocado)
กีวี (kiwi fruit)
ฝรั่ง
มะเดื่อ
น้อยหน่า
มะม่วง
มะละกอ
กล้วย
มะเขือเทศ
ขนุน
แตงโม
ละมุด
|
พริกหวาน (sweet pepper)
บลูเบอร์รี่ (blueberry)
เชอร์รี่ (cherry)
องุ่น (grape)
เงาะ
มังคุด
ลิ้นจี่
ลำไย
มะไฟ
ลองกอง
สับปะรด (pineapple)
สตรอเบอร์รี่ (strawberry)
ผลไม้ตระกูลส้ม (citrus)
ส้มโอ
มะนาว
|
2. แบ่งตามแหล่งปลูก
เขตปลูก
|
ผลไม้
|
2.1 ผลไม้เขตร้อน (tropical fruit)
|
เงาะ ทุเรียน มังคุด มะม่วง มะละกอ ลองกอง
|
2.2 ผลไม้เขตกึ่งร้อน (subtropical fruit)
|
ลำไย ลิ้นจี่ อะโวกาโด
|
2.3 ผลไม้เขตอบอุ่น (temperate fruit)
|
ท้อ (peach) สาลี่ (pear) แอปเปิล (apple)
|
3. แบ่งตามลักษณะของผล
3.1 ผลเดี่ยว (simple fruit) หมายถึง
ผลที่เกิดจากดอกหนึ่งดอกที่มีเกสรตัวเมียอันเดียว เจริญมาจากรังไข่อันเดียว
รังไข่นี้อาจประกอบด้วย
คาร์เพลเดียวหรือหลายคาร์เพลเชื่อมกัน ดอกเป็นชนิดดอกเดี่ยวหรือช่อดอกก็ได้ ผลเดี่ยวยังสามารถจำแนกตามลักษณะของเพริคาร์ป (pericarb) ได้เป็นผลสดและผลแห้ง
คาร์เพลเดียวหรือหลายคาร์เพลเชื่อมกัน ดอกเป็นชนิดดอกเดี่ยวหรือช่อดอกก็ได้ ผลเดี่ยวยังสามารถจำแนกตามลักษณะของเพริคาร์ป (pericarb) ได้เป็นผลสดและผลแห้ง
ผลสด (fleshy fruit) เป็นผลเดี่ยวที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วมีเนื้อสัมผัสนุ่มและสด มีความชื้นสูง
จำแนกได้ดังนี้
·
ดรูป
(drupe) เป็นผลสดชนิดที่เพริคาร์ปแบ่งเป็น
3 ชั้น เอนโดคาร์ป หรือเมล็ด
แข็งมากอาจเรียกว่า สโตนฟรุต (stone fruit) เอนโดคาร์ป มักติดกับเปลือกหุ้มเมล็ดซึ่งมีอยู่เมล็ดเดียว
มีโซคาร์ป เป็นเนื้อนุ่มหรือเป็นเส้นเหนียวๆ ส่วนเอกโซคาร์ปเรียบเป็นมัน
มีคาร์เพลเดียวหรือหลายเคร์เพล เช่น ท้อ (peach) พุทรา มะกอก อินทผลัม (date) มะพร้าว ตาล เชอร์รี่ เบอรี (berry) เป็นผลสดที่มีเพริคาร์ป อ่อนนุ่ม
เอกโซคาร์ปเป็นผิวบางๆ มีโซคาร์ปและเอนโดคาร์ปรวมกันแยกได้ไม่ชัดเจน เช่น มะเขือ มะเขือเทศ (tomato) พริก องุ่น กล้วย ฝรั่ง
เอกโซคาร์ปเป็นผิวบางๆ มีโซคาร์ปและเอนโดคาร์ปรวมกันแยกได้ไม่ชัดเจน เช่น มะเขือ มะเขือเทศ (tomato) พริก องุ่น กล้วย ฝรั่ง
·
เพโป
(pepo) เป็นผลสดที่มีลักษณะคล้ายเบอรี แต่มีเปลือกนอกหนาเหนียวและแข็ง เจริญมาจากฐานดอกเชื่อมรวมกับเอกโซคาร์ป
ชั้นมีโซคาร์ป (mesocarp) และเอนโดคาร์ป (endocarp) เป็นเนื้อเยื่อนุ่ม ผลชนิดนี้มักเจริญมาจากดอกที่มีรังไข่แบบอินฟีเรีย เช่น
ฟัก แฟง แตงกวา น้ำเต้า บวบ มะตูม
ชั้นมีโซคาร์ป (mesocarp) และเอนโดคาร์ป (endocarp) เป็นเนื้อเยื่อนุ่ม ผลชนิดนี้มักเจริญมาจากดอกที่มีรังไข่แบบอินฟีเรีย เช่น
ฟัก แฟง แตงกวา น้ำเต้า บวบ มะตูม
·
เฮสเพริเดียม
(hesperidium) เป็นผลสดที่มีเอกโซคาร์ป
(exocarp) ค่อนข้างแข็งและเหนียว มีต่อมน้ำมันมาก
เปลือกประกอบด้วย
เอกโซคาร์ปและมีโซคาร์ป ซึ่งติดกันและมองเกือบไม่เห็นรอยแยก แต่ชั้นมีโซคาร์ปจะมีสีขาวและไม่ค่อยมีต่อมน้ำมัน เอนโดคาร์ปเป็นเยื่อบางๆ หุ้มเนื้อ บางส่วนจะเปลี่ยนไปเป็นขนหรือถุงสำหรับเก็บน้ำ (juice sac) ซึ่งเป็นเนื้อที่ใช้รับประทาน ได้แก่ ผลไม้ตระกูลส้ม เช่น ส้ม ส้มโอ มะนาว มะกรูด
เอกโซคาร์ปและมีโซคาร์ป ซึ่งติดกันและมองเกือบไม่เห็นรอยแยก แต่ชั้นมีโซคาร์ปจะมีสีขาวและไม่ค่อยมีต่อมน้ำมัน เอนโดคาร์ปเป็นเยื่อบางๆ หุ้มเนื้อ บางส่วนจะเปลี่ยนไปเป็นขนหรือถุงสำหรับเก็บน้ำ (juice sac) ซึ่งเป็นเนื้อที่ใช้รับประทาน ได้แก่ ผลไม้ตระกูลส้ม เช่น ส้ม ส้มโอ มะนาว มะกรูด
·
โพม
(pome) เป็นผลสดที่เจริญมาจากดอกที่มีรังไข่แบบอินฟีเรีย มีหลายคาร์เพล
เนื้อผลส่วนใหญ่มาจากฐานดอกหรือส่วนฐานของกลีบดอก
กลีบเลี้ยงและก้านเกสรตัวผู้ซึ่งเชื่อมติดกัน โอบล้อมผนังรังไข่
เนื้อส่วนน้อยที่อยู่ด้านในเกิดจากเพริคาร์ป ส่วนเอนโดคาร์ป จะบางหรือมีลักษณะกรุบๆ
คล้ายกระดูกอ่อน เช่น แอปเปิล สาลี่ ชมพู่
·
แอริล
(arill) เป็นผลสดซึ่งเนื้อที่รับประทานได้เรียกว่าแอริล
เจริญมาจากส่วนของเมล็ดซึ่งเจริญออกมาห่อหุ้มเมล็ด (outgrowth of seed) และมีเพริคาร์ปเป็นเปลือกห่อหุ้มอยู่ชั้นนอกอีกชั้นหนึ่ง เช่น เงาะ ลำไย ลิ้นจี่
ผลแห้ง (dry fruit) เป็นผลเดี่ยวที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วเพริคาร์ปจะแห้งจำแนกย่อยเป็นผลแห้งแตกเองได้และผลแห้งแล้วไม่แตก
ได้แก่ มะขาม ถั่วเมล็ดแห้ง (legume) นัทจากต้น (tree
nut) เมล็ดธัญพืช (cereal grain)
3.2 ผลกลุ่ม (aggregate fruit) หมายถึง ผลที่เกิดจากดอกหนึ่งดอกที่มีเกสรตัวเมียหลายอันแยกออกจากกันเมื่อเจริญเติบโตเป็นผล
อาจมีลักษณะคล้ายผลเดี่ยวหนึ่งผล เช่น น้อยหน่า สตรอเบอร์รี่ (strawberry)
อาจมีลักษณะคล้ายผลเดี่ยวหนึ่งผล เช่น น้อยหน่า สตรอเบอร์รี่ (strawberry)
3.3 ผลรวม (multiple fruit) ผลที่เกิดจากดอกหลายดอกที่เรียงชิดกันแน่นบนก้านดอกขนาดใหญ่
ดูคล้ายผลเดี่ยวขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่น สับปะรด(pineapple) ขนุน (jack fruit) สาเก (bread fruit) ยอ (noni) หม่อน (mulberry) มะเดื่อ (fig)
ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/67/2/html/Fruit3.htm
2.4
ผลไม้ที่นำมาใช้ทำสบู่
กล้วย
กล้วยเป็นไม้ดอกล้มลุกขนาดใหญ่ ทุกส่วนเหนือพื้นดินของกล้วยเจริญจากส่วนที่เรียกว่า "หัว"
หรือ "เหง้า" ปกติแล้ว ต้นกล้วยจะสูงและแข็งแรงพอสมควร ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นต้นไม้ ซึ่งแท้จริงแล้วส่วนที่คล้ายกับลำต้นคือ
"ลำต้นเทียม" (pseudostem) ใบของกล้วยประกอบด้วย
"ก้านใบ" (petiole) และแผ่นใบ (lamina) ฐานก้านใบแผ่ออกเป็นกาบ กาบที่รวมตัวกันอย่างหนาแน่นทำให้เกิดลำต้นเทียม
มีหน้าที่ชูก้านใบ พยุงให้พืชตั้งตรงดูคล้ายต้นไม้
เมื่อแรกเจริญขอบของกาบจะจรดกันคล้ายท่อ เมื่อมีใบเจริญขึ้นใหม่ที่ใจกลางลำต้นเทียม
ขอบกาบที่จรดกันนั้นก็จะแยกออกจากกัน[3] พันธุ์กล้วยนั้นมีความผันแปรมากขึ้นอยู่กับพันธุ์ปลูกและสภาพแวดล้อม
โดยมาก สูงประมาณ 5 เมตร (16 ฟุต) จาก 'กล้วยหอมแคระ (Dwarf Cavendish)' ซึ่งสูงประมาณ 3 เมตร (10 ฟุต) ไปจนถึง 'กล้วยหอมทอง (Gros Michel)' ที่สูงประมาณ 7 เมตร (23 ฟุต) หรือมากกว่า ใบแรกเจริญจะขดเป็นเกลียวก่อนที่จะแผ่ออก อาจยาวได้ถึง 2.7 เมตร (8.9 ฟุต) และกว้าง 60 ซม (2.0 ฟุต) แผ่นใบมีขนาดใหญ่ ปลายใบมน รูปใบขอบขนาน โคนใบมน มีสีเขียว ใบฉีกขาดได้ง่ายจากลม ทำให้บางครั้งมองดูคล้ายใบเฟิร์น รากเป็นระบบรากฝอย แผ่ไปทางด้านกว้างมากกว่าทางแนวดิ่งลึก
เมื่อกล้วยเจริญเติบโตเต็มที่
หัวจะสร้างใบสุดท้ายที่เรียกว่า "ใบธง" จากนั้นจะหยุดสร้างใบใหม่
และเริ่มสร้างช่อดอก (inflorescence) ลำต้นที่มีช่อดอกอ่อนบรรจุอยู่
จะพัฒนาขึ้นภายในลำต้นเทียม จนในที่สุดมันก็โผล่ออกที่ด้านบนลำต้นเทียม[9] แต่ละลำต้นเทียมจะสร้างช่อดอกเพียงช่อเดียว ซึ่งรู้จักกันในชื่อ "ปลี
(banana heart)" (บางครั้งมีกรณีพิเศษ เช่นกล้วยในประเทศฟิลิปปินส์สร้างปลีขึ้นมาห้าหัว)
ช่อดอกประกอบด้วยกลุ่มของช่อดอกย่อยเป็นกลุ่มๆ มีใบประดับสีม่วงแดงหรือที่เรียกว่า
"กาบปลี" (บางครั้งมีการเข้าใจผิดเรียกเป็นกลีบดอก) ระหว่างแถวของช่อดอกย่อย
ช่อดอกย่อยแต่ละช่อมีดอกเรียงซ้อนกันอยู่ 2 แถว ดอกตัวเมีย
(ที่สามารถเจริญเป็นผลได้) จะอยู่ในช่อดอกย่อยที่บริเวณโคนปลี (ใกล้กับใบ)
ดอกตัวผู้จะอยู่ที่ปลายปลี หรือส่วนที่เรียกว่า "หัวปลี" รังไข่อยู่ต่ำกว่าซึ่งหมายความว่ากลีบดอกขนาดเล็กและส่วนอื่นๆ
ของดอกจะอยู่ในปลายรังไข่ หลังให้ผล ลำต้นเทียมจะตายลง แต่หน่อหรือตะเกียงจะพัฒนาขึ้นจากตา (bud)
ที่หัว ส่งผลให้กล้วยเป็นพืชหลายปี
หากเกิดขึ้นหลายหน่อพร้อมกันจะเรียกว่า "การแตกกอ" ในระบบการเพาะปลูก
จะอนุญาตให้เจิญเติบโตเพียงหน่อเดียวเท่านั้นเพื่อให้ง่ายต่อการจัดสรรพื้นที่
ผลกล้วยพัฒนาจากดอกเพศเมีย กลุ่มของดอกเพศเมีย 1 กลุ่มเจริญเป็นผลเรียกว่า
"หวี (hands)" ซึ่งหวีหนึ่งๆ มีผลกล้วยประมาณ 20
ผล กลุ่มหวีบนช่อดอกเจริญเป็น "เครือ (banana
stem)" ซึ่งอาจมี 3-20 หวี
ผลของกล้วยมีการเจริญได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ จึงทำให้กล้วยส่วนใหญ่ไม่มีเมล็ด
ผลกล้วยได้รับการบรรยายเป็น "leathery berry (ลูกเบอร์รี่ที่คล้ายแผ่นหนัง)" มีชั้นป้องกันภายนอก (เปลือก) มีสายบางๆ ตามยาว (มัดท่อลำเลียงโฟลเอ็ม)
อยู่ระหว่างเปลือกและส่วนที่รับประทานได้ภายใน เนื้อกล้วยมีเนื้อนิ่มสีเหลือง
มีรสหวานคล้ายขนม เมล็ดกล้วยมีลักษณะกลมเล็ก บางพันธุ์มีขนาดใหญ่ เปลือกหนาแข็ง
มีสีดำ สำหรับในสายพันธุ์ปลูก เมล็ดกล้วยมีขนาดเล็กมากเกือบจะไม่มีเลย
เหลือแค่เพียงจุดสีดำเล็กๆ ภายในเนื้อกล้วยเท่านั้น
ประโยชน์ของการกินกล้วย
1.
ช่วยลดกลิ่นปากได้ดีในระดับหนึ่ง
แต่ทั้งนี้ควรทานหลังตื่นนอนตอนเช้าทันทีแล้วค่อยแปรงฟัน
และถ้าเป็นกล้วยน้ำว้าจะยิ่งช่วยลดกลิ่นปากได้ดีขึ้น
2.
กล้วย
ช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกายให้เป็นปกติ
3.
กล้วยอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง
ๆที่สำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย เช่น ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม
คาโบไฮเดรต โปรตีน วิตามินเอ วิตามินบี6
วิตามินบี12 และวิตามินซี
4.
ช่วยเพิ่มพลังให้แก่สมองของคุณ
เพราะมีสารที่ช่วยทำให้มีเกิดสมาธิและมีการตื่นตัวตลอดเวลา
5.
กล้วยก็มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเหมือนกันนะ
ที่ช่วยในการชะลอความแก่ตัวของร่างกายนั่นเอง
6.
กล้วยมีส่วนช่วยในการลดความอ้วนได้
เพราะช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือกช่วยให้ลดอาการอยากกินของจุกจิกลงได้พอสมควร
7.
สำหรับผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ
กล้วยคือคำตออบสำหรับคุณ
8.
อาการหงุดหงิดยามเช้า
กล้วยก็ช่วยคุณได้เหมือนกัน
9.
ช่วยลดอาการหงุดหงิดของผู้หญิงในช่วงประจำเดือนมา
10.
ช่วยลดอาการเมาค้างได้ดีระดับหนึ่ง
เพราะจะช่วยชดเชยน้ำตาลที่ร่างกายขาดไปในขณะดื่มแอลกอฮอล์
11.
เป็นตัวช่วยสำหรับผู้ที่ต้องการอยากเลิกสูบบุหรี่
เพราะในกล้วยมีวิตามินเอ ซี บี6
บี12 โพรแทสเซียม
และแมกนีเซียมที่ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้นจากการเลิกนิโคติน
12.
ช่วยรักษาอาการท้องผูก
เพราะกล้วยมีเส้นใยและกากอาหารซึ่งจะช่วยให้ขับถ่ายได้อย่างปกติ
13.
ช่วยบรรเทาอาการของริดสีดวงทวาร
หรือในขณะขับถ่ายจะมีเลือดออกมา
14.
ช่วยลดอาการเสียดท้อง
ลดกรดในกระเพาะ การกินกล้วยจะทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายจากอาการนี้ได้
15.
ช่วยรักษาโรคโลหิตจางได้
เพราะในกล้วยมีธาตุเหล็กสูง ซึ่งจะช่วยในการผลิตฮีโมโกลบินในเลือด
เพื่อรักษาภาวะโลหิตจางหรือผู้ที่อยู่ในสภาวะขาดกำลัง
16.
ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
หรือเส้นเลือดฝอยแตกได้
17.
ช่วยลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดเส้นโลหิตแตกได้
18.
สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะหรือกระเพาะอักเสบ
การรับประทานกล้วยบ่อย ๆ ถือเป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะกล้วยมีสภาพเป็นกลาง
มีความนิ่มและเส้นใยสูง
19.
ช่วยรักษาแผลในลำไส้เรื้อรัง
เพราะกล้วยมีสภาพเป็นกลาง
ทำให้ไม่เกิดการละคายเคืองในผนังลำไส้และกระเพาะอาหารด้วย
20.
ช่วยรักษาโรคซึมเศร้า
ภาวะความเครียด เพราะกล้วยมีโปรตีนชิดหนึ่งที่เรียกว่า Tryptophan ซึ่งช่วยในการผลิตสาร Serotonin
หรือ ฮอร์โมนแห่งความสุข
จึงส่วนช่วยในการผ่อนคลายอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น
21.
ช่วยลดอัตราการเกิดตะคริวบริเวณมือ
เท้า และน่องได้
22.
ช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องของมารดาลงได้
23.
กล้วย
สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการนิ่วในไตได้ในระดับหนึ่ง
แตงโม
แตงโม (อังกฤษ: watermelon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Citrullus lanatus) เป็นผลไม้ที่มีน้ำประกอบอยู่เป็นจำนวนมาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียก บักโม ภาคเหนือเรียก บะเต้า จังหวัดตรังเรียกแตงจีน
ถิ่นกำเนิดอยู่ในทะเลทรายคาลาฮารีทวีปแอฟริกา ชาวอียิปต์เป็นชาติแรกที่ปลูกแตงโมไว้รับประทานเมื่อสี่พันปีมาแล้ว ชาวจีนเริ่มปลูกแตงโมที่ซินเกียงสมัยราชวงศ์ถัง และชาวมัวร์ได้นำแตงโมไปสู่ทวีปยุโรป
แตงโมแพร่หลายเข้าสู่ทวีปอเมริกาพร้อมกับชาวแอฟริกาที่ถูกขายเป็นทาส
แตงโมต้องการดินที่มีความชุ่มชื้นพอเหมาะ น้ำไม่ขัง มักปลูกกันในดินร่วนปนทราย
ในประเทศไทยมีการปลูกแตงโมทั่วทุกภูมิภาค และปลูกได้ทุกฤดู
แตงโมเป็นพืชในวงศ์เดียวกับแคนตาลูปและฟัก เป็นพืชล้มลุกเป็นเถา อายุสั้น เถาจะเลื้อยไปตามพื้นดิน มีขนอ่อนปกคลุม
ผลมีทั้งทรงกลมและทรงกระบอก เปลือกแข็ง มีทั้งสีเขียวและสีเหลือง
บางพันธุ์มีลวดลายบนเปลือก ในเนื้อมีเมล็ดสีดำแทรกอยู่ แตงโมที่นิยมปลูกโดยทั่วไปมี
3 พันธุ์คือปลาดุก
·
พันธุธรรมดา
มีเมล็ดขนาดเล็ก รสหวาน แบ่งย่อยได้อีกหลายพันธุ์ เช่น แตงโมจินตหรา ผลยาวรี
เปลือกเขียวเข้ม มีลาย เนื้อสีแดง แตงโมตอร์ปิโด ลูกรีกว่าพันธุ์จินตหรา
แตงโมกินรี ผลกลม เนื้อแดง แตงโมน้ำผึ้ง ผลกลม เนื้อเหลือง แตงโมไดอานา เปลือกเหลือง
เนื้อสีแดง แตงโมจิ๋ว ผลขนาดเท่ากำปั้น เนื้อเหลือง เป็นต้น
·
พันธุ์ไม่มีเมล็ด
เป็นพันธุ์ผสมเพื่อใช้ในการส่งออก ไม่มีเมล็ดแก่สีดำภายใน
ในญี่ปุ่นมีการทำแตงโมให้เป็นทรงสี่เหลี่ยมโดยให้ผลเจริญในกล่อง
เพื่อความสะดวกในการขนส่ง
·
พันธุ์กินเมล็ด
ปลูกเพื่อนำเมล็ดมาคั่วเป็นเม็ดก๋วยจี๊ พันธุ์นี้มีเนื้อน้อย
เมล็ดขนาดใหญ่
·
แตงโมเป็นผลไม้ที่มีคุณสมบัติเย็น
จะช่วยลดอาการปวด ไข้ คอแห้ง บรรเทาแผลในปาก เปลือกแตงโมนำไปต้มเดือด
แล้วเติมน้ำตาลทราย ดื่มเพื่อป้องกันเจ็บคอ กินเป็นผลไม้สด ทำเป็นน้ำผลไม้ เปลือกหรือผลอ่อนใช้ทำอาหาร
เช่น แกงส้ม ในเวียดนาม
นิยมรับประทานเมล็ดแตงโมในเทศกาลปีใหม่
·
พบกรดอะมิโน citrulline เป็นครั้งแรกในแตงโมโดยแตงโมมี citrulline
มาก ถ้ารับประทานในปริมาณหลายกิโลกรัมจะตรวจพบในเลือดของผู้รัประทานได้ ซึ่งจะเข้าไปรบกวนวัฏจักรยูเรียในเนื้อผลมีเบตาแคโรทีน เปลือกที่มีสีเขียวอ่อนหรือขาวของแตงโมรับประทานเป็นผักได้นำไปทำไวน์ได้
·
ใช้ทำเป็นทรีทเม้นท์บำรุงผิว
ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว แก้ปัญหาผิวแห้งกร้าน ช่วยดูดซับความมันบนใบหน้า
และลดอาการแสบแดง วิธีการง่ายๆ เพียงแค่นำเนื้อแตงโมมาฝานบางๆ
แล้วนำมาวางไว้บนผ้าขาวบาง จากนั้นนำมาวางปิดลงบนใบหน้าให้ทั่วทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
แอปเปิ้ล
แอปเปิล (อังกฤษ: apple; ชื่อวิทยาศาสตร์: Malus domestica) เป็นผลไม้ในตระกูล
Rosaceae แอปเปิลเป็นผลไม้ที่นิยมมากที่สุดชนิดหนึ่งในโลก
เป็นไม้ผลเมืองหนาว มีต้นกำเนิดในบริเวณประเทศอิหร่านในปัจจุบัน
จากนั้นจึงกระจายพันธุ์ไปยังเทือกเขาคอเคซัสและลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส
แล้วแพร่หลายต่อไปในทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา และดินแดนอื่นทั่วโลก
ในประเทศไทยปลูกได้ในพื้นที่ภาคเหนือ เช่นที่ดอยอ่างขาง
ต้นแอปเปิลจะสูงประมาณ
5-12 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็ง ใบเขียวเข้มเป็นมัน ขอบหยัก
ดอกออกเป็นกลุ่มสีขาวอมชมพู ผลกลมรี มีรอยบุ๋มทั้งขั้วผลและท้ายผล
ผลแอปเปิลมีเปลือกบาง สีแดง เขียว และเหลืองตามสายพันธุ์ เนื้อในเป็นเหมือนทรายละเอียดสีเหลืองนวล
เมล็ดมีขนาดเล็ก สีดำ
1.
แอปเปิ้ลมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระมากมายที่ช่วยในการชะลอวัย
2.
แอปเปิ้ลเหมาะกับการเป็นอาหารที่ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก
ช่วยลดความอาหารลง
แม้แอปเปิ้ลจะมีน้ำตาลแต่ร่างกายก็สามารถดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ ได้ภายในสิบนาที
3.
ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด
หากรับประทานเป็นประจำวันละ 2-3
ผล
4.
เป็นผลไม้ที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน
ที่ต้องการควบคุมน้ำตาลในเลือด
เพราะแอปเปิ้ลมีไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำในปริมาณสูงที่จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดด้วย
5.
เป็นอาหารที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยภาวะเลือดเป็นกรดไขข้อรูมาติก
โรคเกาต์ ดีซ่าน
6.
แอปเปิ้ลก็มีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดฝ้าได้เหมือนกันนะ
7.
ช่วยในการลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย
8.
ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้
9.
ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้โดยตรง
10.
ช่วยป้องกันการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน
11.
ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
12.
ช่วยให้ผนังหลอดเลือดแข็งแรง
13.
ช่วยป้องกันการเกิดโรคต้อกระจก
14.
ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร
15.
ช่วยลดไข้
และช่วยลดการอักเสบ
16.
ช่วยละลายเสมหะ
17.
ช่วยลดความดันโลหิต
18.
ช่วยบำรุงหัวใจ
19.
แอปเปิ้ลไม่เพียงแต่มีประโยชน์ในเนื้อเท่านั้น
สำหรับเปลือกก็จัดว่ามีประโยชน์มากมายเลยทีเดียว
สำหรับใครที่ไม่ชอบรับประทานเปลือก
ขอให้รู้ไว้ว่าว่าเปลือกก็มีความสำคัญไม่แพ้เนื้อเลยทีเดียว
เนื่องจากมีสารฟลาโวนอยด์ที่ช่วยกำจัดสารพิษในร่างกายของเรา
มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระชั้นเลิศ และที่สำคัญยังช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อีกด้วย
ซึ่งก็ตรงกับงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุเอาไว้ว่าแอปเปิ้ลนั้นเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ “การรับประทานแอปเปิ้ลวันละ 1
ลูกจะป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้โดยตรง” แต่ทั้งนี้เวลากินก็ควรจะล้างน้ำให้ สะอาดด้วย (ไม่ต้องปอกเปลือกนะ
ขนาดอาดัมกับอีฟยังหม่ำทั้งลูก
บทที่ 3
วิธีการดำเนินงาน
ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษา เรื่องสบู่จากผลไม้
ซึ่งมีวิธีการศึกษาดั้งนี้
ระเบียบวิธีที่ใช้ในการศึกษษ
ในการศึกษารูปแบบการสำรวจ
สืบค้นข้อมูล จากหนังสือ อินเทอร์เน็ต และแบบสอบถาม
อุปกรณ์
1.แอปเปิ้ล 6 ลูก 2. กล้วย 6 ลูก 3.แตงโม 1 ลูก
4.น้ำเปล่า 85 มิลลิลิตร 5.น้ำผึ้ง 1 ขวด 6. น้ำหอม
7.กลีเซอรีน 1 กิโลกรัม 8. กระชอน 9.หม้อ
10.แม่พิมพ์
สถานที่ปฎิบัติ
โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยสุพรรณบุรี
วิธีการดำเนินงาน
1. ปอกเปลือกกล้วยหอมเอาเฉพาะเนื้อกล้วย บี้หรือปั่นให้ละเอียด เติมน้ำ 1 ขีด
1. ปอกเปลือกกล้วยหอมเอาเฉพาะเนื้อกล้วย บี้หรือปั่นให้ละเอียด เติมน้ำ 1 ขีด
2.เมื่อปั่นเสร็จแล้วให้นำไปกรองเพื่อเอากากทิ้ง
3.ตั้งหม้อไฟอ่อนๆไว้ นำกรีเซอรีน จำนวน 100 กรัมใส่ลงในหม้อรอให้ละลาย
4.นำกล้วยที่กรองไว้เทใส่ลงในหม้อคนเป็นเวลา 20 นาที
5.เมื่อคนเข้ากันแล้วให้ใส่น้ำหอมและใส่น้ำผึ้งประมาณ 5 ช้อนชา
6.จากนั้นทิ้งไว้สัก 10 นาที
7.เมื่อครบ 10 นาทีแล้ว
ให้นำใส่แม่พิมพ์ที่ได้เตรียมไว้
8.รอประมาณ 1 วัน
สบู่จะเริ่มแข็งตัว แล้วนำมาใช้ได้
การทำสบู่จากแอบเปิ้ลและสบู่จากแตงโมใช้วิธีเดียวกันกับวิธีการทำสบู่จากกล้วย
บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน
การวิเคราะห์ข้อมุล สบู่จากผลไม้ของนักเรียนะดับชั้น มัธยมศึกษาปี่ที่
2/2 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี
เลือกระดับความพึงพอใจในแต่ละหัวข้อดังนี้
5 พึงพอใจมาที่สุด
4 พึงพอใจมาก
3 พึงพอใจ
2 พึงพอใจน้อย
1
ควรปรับปรุง
รายการประเมิน
|
สบู่จากกล้วย
|
สบู่จากแอปเปิ้ล
|
สบู่จากแตงโม
|
ผู้ประเมิน
|
||||||||||||||
5
|
4
|
3
|
2
|
1
|
5
|
4
|
3
|
2
|
1
|
5
|
4
|
3
|
2
|
1
|
||||
รูปลักษณ์ของสบู่
|
∕
|
|
|
|
|
|
∕
|
|
|
|
|
∕
|
|
|
|
ด.ญ.ณัฐนภา
ทองหวาน
|
||
|
|
∕
|
|
|
|
|
∕
|
|
|
∕
|
|
|
|
|
ด.ญ.ณิชกานต์พร
ลิ้มทองคำ
|
|||
∕
|
|
|
|
|
|
|
|
∕
|
|
|
∕
|
|
|
|
ด.ญ.ปฎิญญา
ทองเทศ
|
|||
การขจัดคราบ
|
|
|
∕
|
|
|
∕
|
|
|
|
|
|
∕
|
|
|
|
ด.ญ.ศุภาพิชญ์
สร้อยสุวรรณ์
|
||
|
|
∕
|
|
|
∕
|
|
|
|
|
|
|
∕
|
|
|
ด.ญ.เอื้อไอริน
สมบูรณ์วิทย์
|
|||
|
|
∕
|
|
|
|
∕
|
|
|
|
|
|
∕
|
|
|
ด.ญ.โศพิชา
เภาเสน
|
|||
การบำรุงผิว
|
∕
|
|
|
|
|
∕
|
|
|
|
|
|
|
∕
|
|
|
ด.ญ.มณฑาทอง
สว่างศรี
|
||
|
|
∕
|
|
|
|
∕
|
|
|
|
|
|
∕
|
|
|
ด.ญ.วณิษตา
แสงพิจิตร
|
|||
|
|
∕
|
|
|
|
∕
|
|
|
|
|
|
∕
|
|
|
ด.ญ.ญาณิศา
สินธนไพบูลย์
|
|||
บทที่ 5
สรุป อภิปราย และ ข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาครั้งนี้
เพื่อ 1.เพื่อหาผลไม้ที่มีสรรพคุณบำรุงผิว2.เพื่อทำสบู่จากน้ำผลไม้ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี
ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ซึ่งสามารถสรุปผล
อภิปราย และข้อเสนอแนะ ได้ดังนี้
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
เพื่อหาผลไม้ที่มีสรรพคุณบำรุงผิวและทำสบู่จากน้ำผลไม้
ขอบเขตของการศึกษา
โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี
วัสดอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษา
1.แอปเปิ้ล 6 ลูก 2. กล้วย 6 ลูก 3.แตงโม
1 ลูก
4.น้ำเปล่า 85 มิลลิลิตร 5.น้ำผึ้ง 1 ขวด 6. น้ำหอม
7.กลีเซอรีน 1 กิโลกรัม 8. กระชอน 9.หม้อ
10.แม่พิมพ์
สรุปผลการทำโครงงาน
รูปลักษณ์ของสบู่ที่เป็นที่นยมคือสบู่จากกล้วยและแตงโม
ส่วนสบู่จากแอปเปิ้ลเป้ลเป็นที่นิยมน้อยที่สุด
สบู่ที่สามารถขจัดคราบได้ดีที่สุดคือสบู่จากแอปเปิ้ล
รองลงมาคือสบู่จากแตงโม และสุดท้ายคือ สบู่จากกล้วย
สบู่ที่บำรุงผิวได้ดีที่สุดคือสบู่จากแอปเปิ้ลรองลงมา
คือ สบู่จากกล้วย และสุดท้ายคือ สบู่จากแตงโม
อภิปรายผลการทดลอง
สบู่จากผลไม้ที่ได้มีรูปลักษณ์
กลิ่นและการขจัดคราบที่ใกล้เคียงกับสบู่ที่ขายตามท้องตลาด ซึ่งเป็นสิ่งที่คณะผู้จัดทำสามารถประยุกต์ขึ้นใช้ได้เอง
มีความปลอดภัยประหยัดและช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการทำผลิตภัณฑ์อื่นๆต่อไป
ข้อเสนอแนะ
-ควรใช้ผลไม้อื่นในการทำด้วย
วิธีใช้ spaceplus 888 ควาสำหรับครอบครัวที่มีพื้นที่ใช้สอยจำกัด การใช้งาน spaceplus 888 PG SLOT รวดเร็วเป็นทางเลือกที่ดีเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตอบลบ